วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นิราศนรินทร์คําโคลง

   ขอความดีงามจงบังเกิดแก่แผ่นดินอันกว้างใหญ่ และประเสริฐยิ่งกว่าดินแดนในโลก จนอาจข่มสวรรค์ แผ่นดินนั้นเปรียบดังเมืองสวรรค์ ณ ยอดเขาพระสุเมรุ และ เป็นที่ค้ำจุนโลกอัน กว้างใหญ่ แผ่นดินที่กล่าวถึงนี้ คือ กรุงศรีอยุธยาอันเรืองรุ่งโรจน์ จับฟ้า และความสว่างรุ่งเรืองนั้นแจ่มแจ้งยิ่งกว่าแสงเดือน จะเปรียบได้ก็กับแสงตะวัน พระนครศรีอยุธยามีเสนาอำมาตย์คอยพิทักษ์รักษาพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงขจัดความทุกข์ของประชาราษฎร และทำลายข้าศึกให้สิ้นไป จนตลอดโลกก็ราบคาบเรียบดังหน้ากลอง บรรดาศัตรูเสี้ยนหนาม เพียงได้ยินชื่อกรุงศรีอยุธยาก็ต้องพากันน้อมตัวกราบไหว้กันอยู่ไสว เพราะความยำเกรง บรรดาเจ้าเมืองต่างๆ ก็ส่งดอกไม้ เครื่องราชบรรณาการมาถวายแด่พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอันพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยานั้น ไ...อ่านต่อ


ลักษณะคำประพันธ์นิทานเวตาล

 ลักษณะคำประพันธ์ 
นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า “สำนวน น.ม.ส.” เรื่องย่อ ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถู..อ่านเพิ่มเติม

ประวัติผู้แต่ง นิทานเวตาล

    ประวัติผู้แต่ง
พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า “น.ม.ส.” ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์...อ่านต่อ

ความเป็นมา นิทานเวตาล

    ความเป็นมา นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิท...อ่านต่อ

ประวัติผู้แต่ง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

       พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี 
ทรงประสูติริมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า “ฉิม”
พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 
กับกรม สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกเป็นหลวงยกพระบั..อ่านต่อ

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง 
ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและระตูประหมัน
ครั้นแล้วท้าวกะหมังกุหนิงเสด็จนั่งที่ประทับที่ประดับด้วยมณีทั้งหลาย พระองค์มองเห็นถึงพระอนุชาทั้ง ๒ คน จึงเรียกให้มานั่งที่ประทับพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ครั้นแล้วจึงความเป็นไปของบ้านเมือง และบอกถึงความประสงค์ของตนว่าที่เรียกอนุชาทั้ง 2 มาเพื่อจะให้ช่วยไปตีเมืองดาหาขอให้ทั้งสอง ช่วยตีเมืองให้ได้ชัยชนะเร็วไว เจ้าเมืองผู้น้องทั้งสองจึงได้รับสนองผู้เป็นพี่ ครั้งใดที่ท้าวกะหมังกุหนิงมีศึกเจ้าเมืองน้อยทั้งสองก็จะอ..อ่านต่อ

ความสําคัญของวรรณคดี

ความสําคัญของวรรณคดี

          วรรณคดีเป็นสิ่งสร้างสรรค์อันล้ำค่าของมนุษย์ มนุษย์สร้างและสื่อสารเรื่องราวของชีวิตวัฒนธรรมและอารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องหรือสะท้อนความเป็นมนุษย์ด้วยกลวิธีการใช้ถ้อยคําสํานวนภาษา ซึ่งมีความเหมือนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย
พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ได้กล่าวถึงความสําคัญของวรรณคดีไวในหนังสือแง่คิดจากวรรณคดีว่าโลกจะเจริญก้าวหน้ามาได้ไกลก็เพราะวิทยาศาสตร์ แต่ลําพังวิทยาศาสตร์เท่านั้นไม่ครอบคลุมไปถึงความเป็นไปในชีวิตที่มีอารยธ..อ่านต่อ